ROBOT HACK กิจกรรม Hackathon ประลองไอเดียด้านหุ่นยนต์ AI ครั้งแรกของ Salvator Tech
ในกิจกรรม ROBOT HACK จะมีการบรรยายพิเศษจาก Salvator Tech Co., Ltd บริษัทด้านซอฟต์แวร์และจัดจำหน่ายหุ่นยนต์บริการระดับโลก โดยเราได้เล่า ถึง 2 หุ่นยนต์บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากลูกค้าของ Salvator Tech คือ temi หุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะ หุ่นยนต์ตัวแรกในไทยที่รองรับ 5G และหุ่นยนต์ temi Platform หรือหุ่นยนต์ AMR ที่รองรับการปรับแต่งทุกรูปแบบ ซึ่งจะเป็นโจทย์สำหรับกิจกรรม hackathon ในครั้งนี้
Salvator Tech จึงร่วมกับ FabCafe Bangkok จัดกิจกรรม ROBOT HACK ซึ่งเป็นกิจกรรม hackathon ด้านหุ่นยนต์ AI ครั้งแรกของเรา ในวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเราได้เชิญเหล่านักออกแบบ และผู้ที่กำลังอยากทำอะไรนอกกรอบ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 13 ปีมาร่วมออกแบบระดม ความคิด เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการใช้งานหุ่นยนต์ให้ตอบโจทย์ใช้ผ่านการออกแบบฮาร์ดแวร์ และปรับแต่ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ให้ตอบโจทย์ ภาคธุรกิจมากที่สุด
ในกิจกรรม ROBOT HACK จะมีการบรรยายพิเศษจาก Salvator Tech Co., Ltd บริษัทด้านซอฟต์แวร์และจัดจำหน่ายหุ่นยนต์บริการระดับโลก โดยเราได้เล่า ถึง 2 หุ่นยนต์บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากลูกค้าของ Salvator Tech คือ temi หุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริย หุ่นยนต์ตัวแรกในไทยที่รองรับ 5G และหุ่นยนต์ temi Platform หรือหุ่นยนต์ AMR ที่รองรับการปรับแต่งทุกรูปแบบ ซึ่งจะเป็นโจทย์สำหรับกิจกรรม hackathon ในครั้งนี้ รวมถึงมีการบรรยายด้านธุรกิจหุ่นยนต์จากประเทศญี่ปุ่นโดย อ.กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ จาก FabCafe Bangkok จากนั้นเราจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เข้ามา ทำความรู้จักกับหุ่นยนต์จาก Salvator Tech รวมถึงสอบถามข้อสงสัยจากทีม Developer อย่างใกล้ชิด ก่อนจะเริ่มทำกิจกรรม hackathon ตลอด 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันเต็ม เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ อย่างไร้ขอบเขต เพื่อเฟ้นคนรุ่นใหม่มาร่วมประลองไอเดียแบบจัดเต็ม
ภายใต้คอนเซ็ปต์
“ ROBOT as the Next Smartphone หากหุ่นยนต์จะกลายเป็นเหมือนสมาร์ทโฟนในยุคถัดไป เราจะออกแบบหุ่นยนต์เพื่อทำอะไรได้บ้าง?”
คอนเซ็ปต์ ROBOT as the Next Smartphone คืออะไร?
นับตั้งแต่ปี 2007 การเข้ามาของสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของทุกคนไปตลอดกาลด้วยฟังก์ชันที่ไม่ใช่แค่การโทรเข้า-ออก แต่ยังครอบคลุมถึง แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างรอบด้าน ทำให้สมาร์ทโฟนกลายเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของโลกยุคใหม่โดยสมบูรณ์
แต่นับตั้งแต่ในปี 2020 การเข้ามาของหุ่นยนต์ AI อาจจะเข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิตของทุกคนอีกครั้ง ด้วยการใช้งานที่ครอบคลุมยิ่งกว่า ตอบโจทย์การบริการ ทางกายภาพ การเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง และการโต้ตอบสื่อสารได้ราวกับว่าเป็นมนุษย์จริง ทั้งยังรองรับการปรับแต่งซอฟต์แวร์ได้ตามความต้องการ คล้าย กับแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันหลายคนอาจเริ่มเห็นหุ่นยนต์บริการเข้ามามีบทบาทในหลาย ๆ ภาคส่วนของธุรกิจ เช่น หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล หรือ eNurse หุ่นยนต รักษาความปลอดภัย หุ่นยนต์ผู้ช่วยครู หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับ เป็นต้น เมื่อหุ่นยนต์สามารถเข้ามารับบทบาทใดก็ได้ที่จะช่วยแบ่งเบา ภาระของมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถออกแบบให้หุ่นยนต์ทำหน้าที่ได้มากเท่าที่จะจินตนาการ ซึ่งในอนาคตอัตใกล้นี้หุ่นยนต์ AI เราอาจกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ที่ เข้ามาแทนที่ยุคของสมาร์ทโฟนก็เป็นได้
ู้จักหุ่นยนต์ temi Platform โจทย์สุดท้าทายของกิจกรรม ROBO HACK
temi Platformคือหุ่นยนต์ AMR หรือแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ชั้นนำของโลกที่รองรับการปรับแต่งทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่เฉพาะเจาะจงของผู้ใช้ มาพร้อมความสามารถในการนำทาง เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ทั้งยังมี SDK หรือเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานนำไปต่อยอดได้ ตามความต้องการ รองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย และรองรับอุปกรณ์เสริมที่จะติดตั้งเข้ากับตัวหุ่นยนต์ได้อย่างง่ายดาย เหมาะกับธุรกิจหลากหลายประเภท
ตัวอย่างการใช้งาน temi Platform
temi Platform สามารถปรับแต่งให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย เช่น
- ปรับแต่งเป็นหุ่นยนต์ขนส่งวัสดุอุปกรณ์ของโรงงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เฉพาะ ที่ต้องการการประกอบชั้นวางแบบพิเศษ
- ปรับแต่งโดยวางแขนกลลงไปบนหุ่นยนต์ เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบเครื่องจักร หรือสินค้าตามความต้องการ
- ปรับแต่งเป็นหุ่นยนต์ลาดตระเวนเพื่อรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ
- ปรับแต่งเป็นหุ่นยนต์ส่งเอกสารการเรียนในมหาวิทยาลัย หรือเป็นหุ่นยนต์ส่งอุปกรณ์ในชอปเครื่องมือของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
- ปรับแต่งเป็นหุ่นยนต์บริการเสิร์ฟอาหาร สำหรับร้านที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ต้องการถาดวางอาหารชนิดใหญ่พิเศษ หรือเล็กเป็นพิเศษ
- ปรับแต่งเป็นหุ่นยนต์ถือกระเป๋าในโรงแรม หรือส่งสินค้าที่จำเป็นให้แก่แขกในตอนกลางคืนเป็นต้น
ผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 5 ทีม และสุดยอดไอเดียจากหุ่นยนต์ AI
กิจกรรม ROBO HACK ได้รับความสนใจจากเยาวชน และคนวัยทำงานจากสายทั้งสายนักออกแบบ และสายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก โดยกิจกรรมได้แบ่ง ออกตามหัวข้อความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น 5 ทีมดังต่อไปนี้
1. ทีม CAROT
CAROT เป็นหุ่นยนต์ที่จะทำหน้าที่ดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรัก เมื่อเจ้าของไม่อยู่บ้าน โดยหุ่นยนต์สามารถปรับแต่งการใช้งานได้ตามต้องการ เช่น มีมือออกมาเล่นกับสุนัข และมีระบบให้อาหาร เป็นต้น
2. ทีม temi Phys!
temi Psys หรือหุ่นยนต์สำหรับคัดครองคนเข้าทำงานโดยใช้ระบบสแกนใบหน้าแบบ 3D เพื่อตรวจสอบลักษณะโหง้วเฮ้งจากศาสตร์จีน ไทย และตะวันตก ก่อนจะประมวลผลออกมาเป็นคะแนนเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการเลือกผู้สมัครงาน นับเป็นการผสานศาสตร์ด้านความเชื่อ และเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว
3. ทีม temi aida
temi aida หุ่นยนต์ที่เข้ามาช่วยตอบโจทย์ด้านปัญหาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีภาวะความเครียด โดยหุ่นยนต์ temi aida จะสามาร ถตรวจจับความเครียดบนใบหน้า และน้ำเสียงเพื่อวัดระดับความเครียดได้ รวมถึงยังสามารถเป็นผู้ช่วยนักศึกษาในด้านอื่น ๆ เพื่อลดภาวะความเครียด และมีระบบแจ้งเตือนผู้ปกครองทันทีเมื่อนักศึกษามีภาวะเครียดเกินไป
4. ทีม Augmentemi
คือการ Augmented Reality หรือระบบ AR เข้ามาสร้างประสบการณ์ในโลกเสมือนจริงร่วมกับหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์จะเปิดกล้องเพื่อแสดงภาพของผู้ใช้งาน บนหน้าจอของหุ่นยนต์ และแสดงภาพเสมือนจริงในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพ และวิดีโอความประทับใจไว้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่ง หุ่นยนต์ให้เข้ากับ AR ได้ตามความต้องการอีกด้วย เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในการโปรโมทแบรนด์ และกิจกรรมต่างได้เป็นอย่างดี
5. ทีม Airport security robot
Airport security robot หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยในสนามบิน โดยหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถคอยช่วยเหลือผู้โดยสารในการเช็คอิน รวมถึงช่วยยกกระเป๋า ซึ่งจะช่วยลดการแออัดในจุดเช็คอิน และช่วยตรวจตราวัตถุอันตรายในสนามบิน แจ้งเหตุไปยังเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อเกิดเหตุร้าย ทั้งยังนำทางผู้โดยสารไปยัง จุดปลอดภัยได้ทันที ซึ่งจะช่วยรักษาความปลอดภัยในสนามบินได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น
ผลการแข่งขันจากกิจกรรม ROBO HACK
Salvator Tech และ FabCafe Bangkok ได้รับเกียรติจากคุณ Tanapon Kitmuti (T.K. Gearwalker) อาจารย์ด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และ AI ทั้งยัง เป็นเจ้าของรางวัลมากมายมาเป็นกรรมการตัดสินใจครั้งนี้ โดยคุณ Tanapon Kitmuti จะยอมรับว่าเป็นการตัดสินที่ยากมาก ๆ เพราะไอเดียของทุกทีม ล้วนมีความน่าสนใจ และมีเอกลักษณ์ของตนเอง เหมาะแก่การต่อยอดในอนาคต ดังนั้นคุณ Tanapon Kitmuti FabCafe Bangkok นำโดย อ.กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ และ Salvator Tech นำโดย CTO ของเรา Raj Kumar Gupta จึงร่วมกันตัดสินรางวัล และสรุปผลผู้ชนะดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศจาก FabCafe Bangkok และคุณ Tanapon Kitmuti ได้แก่ทีม Airport security robot
รางวัลชนะเลิศจาก Salvator Tech ได้แก่ทีม CAROT